รู้หรือไม่….. การฝึกสติช่วยป้องกันพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเด็ก ที่เสี่ยงให้เกิดโรคสมาธิสั้นได้

บทความนี้เรามาทำความรู้จักกับ การฝึกสติ (Mindfulness) กันค่ะ คืออะไรกันนะ และจะช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคสมาธิสั้นได้อย่างไร….             การฝึกสติ เป็นแนวทางการฝึกฝนอีกหนึ่งแนวทางที่กำลังเป็นที่สนใจในระดับสากลในการช่วยฝึกฝนให้บุคคลจัดการสภาวะต่าง ๆ ของตนเองได้ดีขึ้น เช่น ความเครียด อารมณ์เศร้า ความวิตกกังวล รวมไปถึงการป้องกันไม่ให้บุคคลเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมาธิสั้นได้             แล้ว การฝึกสติ (Mindfulness) คืออะไรล่ะ ?? คือ การฝึกให้บุคคลอยู่กับปัจจุบันขณะ รู้เท่าทันพฤติกรรม และอารมณ์ของตนเอง มองสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างไม่ตัดสิน เป็นการฝึกที่อาจให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคสมาธิสั้น เช่น การอยู่ไม่นิ่ง การไม่มีสมาธิจดจ่อ และการควบคุมตนเอง             จากผลการศึกษาพบว่า การฝึกสติช่วยลดพฤติกรรมเกเรของวัยรุ่นที่มีความเสี่ยงต่ออาการสมาธิสั้นได้  แต่อาจจะไม่ช่วยลดอาการสมาธิสั้นได้ เนื่องจาก โรคสมาธิสั้นเกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยเด็ก ทั้งยังมีปัจจัยด้านพันธุกรรมที่เป็นสาเหตุหลัก รวมถึงปัจจัยด้านการเลี้ยงดู ที่มีส่วนทำให้อาการของโรคสมาธิสั้นเป็นมากขึ้นหรือน้อยลงได้ ดังนั้น การฝึกสติให้กับเด็กเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยป้องกันความเสี่ยงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ไม่มีสมาธิ ควบคุมพฤติกรรมของตนเองไม่ได้ อาการอยู่ไม่นิ่ง เป็นต้น             เด็กสามารถฝึกสติได้ด้วยกิจกรรมอะไรได้บ้าง ??             จะเห็นได้ว่าการฝึกสติให้กับเด็กนั้น […]

เพราะอะไร ?? การเสริมสร้าง Self – Esteem ให้กับลูกจึงสำคัญ

บทความนี้จะพูดถึง การเห็นคุณค่าในตนเอง (Self – Esteem ) หรือเรียกอีกอย่าง คือ การนับถือตนเอง ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการสร้างเกราะป้องกันให้เด็กมองเห็นส่วนดีของตนเอง พร้อมทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคงทางสังคม และการรักษาความหวังในการดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคตของเด็ก ดังนั้น ความสำคัญของการเห็นคุณค่าในตนเอง จึงเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานทางจิตใจของเด็กหรือแม้กระทั่งในวัยผู้ใหญ่เองการมองเห็นคุณค่าในตนเองยังคงมีความสำคัญในการใช้ชีวิตไม่แตกต่างกัน การมองเห็นคุณค่าในตนเองมีส่วนทำให้เด็กสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุข เพราะการเห็นคุณค่าในตนเองเป็นปัจจัยสำคัญของพฤติกรรมที่พัฒนาไปเป็นบุคลิกภาพที่มีแนวคิดเป็นของตนเอง และวิธีการมองรูปแบบความสำเร็จหรือความล้มเหลวในชีวิต ส่วนหนึ่งมาจากการเห็นคุณค่าในตนเองในด้านต่าง ๆ มีหลากหลายแนวคิดที่ได้นิยาม การเห็นคุณค่าในตนเอง (Self – Esteem) ที่มีความหมาย และองค์ประกอบที่แตกต่างกันออกไป จึงขอยกตัวอย่างองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของ Coopersmith (1984) โดยแบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบภายใน ซึ่งเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ที่มีผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง และองค์ประกอบภายนอก คือ การได้รับการเห็นคุณค่าจากสังคม บุคคลรอบตัว เพื่อน และครอบครัว จึงสรุปได้ว่าองค์ประกอบที่ทำให้บุคคลมีการเห็นคุณค่าในตนเองได้นั้น เกิดจากภายในตัวบุคคล และสภาพแวดล้อม สังคมภายนอก อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เรามีผลการศึกษาที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครองมาฝากค่ะ ซึ่งจะเป็นแนวทางที่สามารถนำไปปรับใช้ในการส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองให้กับลูกได้  จากผลการศึกษากลยุทธ์ของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กวัยอนุบาล แบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้ […]